...
ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช
02 Oct 2023

ม.ราชภัฏโคราช นำขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช
ยกระดับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ KORAT Organic Standard
.
วันนี้ ( 4 กันยายน 2566 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ สำนักงานจังหวัดนครราชสีมา , สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมา , สำนักงานท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมา, สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครราชสีมา , สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา , สำนักงานหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง
จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช โครงการพัฒนาระบบการบริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กจังหวัดนครราชสีมา ณ ห้องประชุมสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 2 อาคารยุพราชเบญจมงคล (อาคาร 31) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยได้รับเกียรติจากนายภูมิสิทธิ์ วังคีรี รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในพิธีพร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช จากนั้นเป็นการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราช
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาดำเนินโครงการพัฒนาระบบการบริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดี วิถีคนโคราชเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดเล็กจังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่นำร่อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่งได้แก่
1. อบต.ด่านจาก ตำบลด่านจาก อำเภอโนนไทย
2.อบต.ตำบลพันชนะ อำเภอด่านขุนทด
3. อบต.ท่าจะหลุง อำเภอโชคชัย
4.อบต.หนองบุญมาก อำเภอหนองบุญมาก
5.อบต.คูขาด อำเภอคง
6.อบต.สามเมือง อำเภอสีดา
7.อบต.หินดาด อำเภอห้วยแถลง
8.อบต.ตำบลตลาดไทร อำเภอประทาย
ที่จะร่วมการวิจัยและพัฒนาในการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์5ดีวิถีคนโคราช ผ่านองค์ความรู้และกลไกการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัลอย่างเหมาะสมด้วยระบบสารสนเทศเชิงพื้นที่ GISKOS (Geoinformatics Korat Organic Standard) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมและการถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรม สู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่าย ให้เกิดกลไกการพัฒนาระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน สร้างความเจริญและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมในพื้นที่ตามเป้าหมายการพัฒนาเมืองโคราชน่าอยู่ที่ยั่งยืนต่อไป
โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานจังหวัดนครราชสีมา(KOS) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่คอยหนุนเสริมและกำกับติดตามเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย จะทำให้เห็นการปฏิบัติงานและการทำงานร่วมกันโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ 5 ดีวิถีคนโคราช สู่กระบวนการปฏิบัติ หรือระบบงานด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ขั้นพื้นฐานจังหวัดนครราชสีมา(KOS) ในองค์กรให้มีความทันสมัยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล GISKOS ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและยั่งยืนต่อการพัฒนาพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา